ชุดดับเพลิงสำคัญยังไง ?
หากจะพูดถึงอาชีพที่ต้องเสี่ยงภัยอัตรายแล้วละก็ นักดับเพลิง คือหนึ่งในอาชีพ ที่จัดว่าอยุ่ในกลุ่มอาชีพเสี่ยงอัตรายอันดับต้นๆ เพราะต้องใช้พลังใจที่รัก และความกล้าหาญในการทำงาน แต่หากจะใช้แค่ใจอย่างเดียวก็คงไม่พอ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงยังต้องการชุดอุปกรณ์ที่สามารถป้องกัน และช่วยเซฟตี้พวกเขาในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดีอีกด้วย เพราะชีวิตจริงของเราไม่ได้เหมือนอยู่ในภาพยนต์ ที่มีฮีโร่จอมพลัง มีร่างกายที่แข็งแรงทนทานต่ออันตรายทุกชนิด โดยไม่ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันใดๆ เลย ชุดดับเพลิง อุปกรณ์ในการดับเพลิง จึงเป็นสิ่งสำคัญ หากพูดถึงชุดที่ป้องกันที่ใช้ จะมีด้วยกัน 4 แบบคือ ชุดดับเพลิงนอกอาคาร ชุดดับเพลิงในอาคาร ชุดป้องกันสารเคมี และชุดป้องกันเชื้อโรคในยามที่เกิดโรคระบาด ซึ่งชุดสุดท้ายจะอยู่ที่กรมควบคุมและป้องกันโรค ไม่ได้อยู่ประจำสถานีดับเพลิงแต่อย่างใด
วันนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จัก หมวกดับเพลิง ในการเข้าไปดับเพลิงนอกจากอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับดับเพลิง เช่น เครื่องดับเพลิงชนิดต่างๆ สายส่งน้ำดับเพลิง หัวฉีดน้ำ และอื่นๆนั้น นักผจญเพลิงต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองป้องกันร่างกาย
หมวกดับเพลิง ?
เป็นอุปกรณ์ป้องกันศีรษะในขณะเข้าดับเพลิง ส่วนมากจะแบ่งตามมาตรฐานและแบ่งตามประเภทของการใช้งาน หมวกดับเพลิงที่ดีต้องมีความแแข็งแรง ทนทานต่อการกระแทกของวัสดุได้ มีกระบังหน้าที่ป้องกันความร้อนและอันตรายต่อใบหน้า
แบ่งตามมาตรฐานตามชุดดับเพลิง ?
มาตรฐาน NFPA
NFPA ย่อมาจาก National Fire Protection Association ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกที่ถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1896 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยองค์กร NFPA มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันอัคคีภัยและลดความสูญเสียต่ออัคคีภัยให้มากที่สุด ในปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองควินซี รัฐแมตซาซูเสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภารกิจหลักของ NFPA คือการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยโดยพัฒนามาจากสถิติและข้อมูลความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจริงจากอัคคีภัย อีกทั้งยังมีงานวิจัย จัดตั้งการอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน และการศึกษาเกี่ยวกับอัคคีภัย การฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอัคคีภัย ทั้งนี้เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นและเพิ่มคุณภาพชีวิตประชากรโลกให้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ NFPA ยังเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยของสาธารณชน และเป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ในองค์กรมีสมาชิกมากกว่า 81,000 ราย โดยข้อกำหนดมาตรฐาน NFPA ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะทางอุตสาหกรรม ห้องปฏิบัติการ การก่อสร้าง และการจัดการอาคารต่าง ๆ
ถึงแม้ว่าองค์กรจะมีและอยู่มาแล้วร่วมร้อยปี แต่มาตรฐาน NFPA ก็ยังมีการทบทวนและปรับปรุงมาตรฐานมาตลอดอย่างน้อย 5 ปีครั้ง เพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีใหม่ในปัจจุบัน
NFPA ย่อมาจาก National Fire Protection Association ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกที่ถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1896 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยองค์กร NFPA มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันอัคคีภัยและลดความสูญเสียต่ออัคคีภัยให้มากที่สุด ในปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองควินซี รัฐแมตซาซูเสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภารกิจหลักของ NFPA คือการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยโดยพัฒนามาจากสถิติและข้อมูลความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจริงจากอัคคีภัย อีกทั้งยังมีงานวิจัย จัดตั้งการอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน และการศึกษาเกี่ยวกับอัคคีภัย การฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอัคคีภัย ทั้งนี้เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นและเพิ่มคุณภาพชีวิตประชากรโลกให้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ NFPA ยังเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยของสาธารณชน และเป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ในองค์กรมีสมาชิกมากกว่า 81,000 ราย โดยข้อกำหนดมาตรฐาน NFPA ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะทางอุตสาหกรรม ห้องปฏิบัติการ การก่อสร้าง และการจัดการอาคารต่าง ๆ
ถึงแม้ว่าองค์กรจะมีและอยู่มาแล้วร่วมร้อยปี แต่มาตรฐาน NFPA ก็ยังมีการทบทวนและปรับปรุงมาตรฐานมาตลอดอย่างน้อย 5 ปีครั้ง เพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีใหม่ในปัจจุบัน
มาตรฐาน EN
ในมาตรฐาน EN 443 ซึ่งเป็นมาตรฐานยุโรปจะมีการอธิบายข้อกำหนดขั้นต่ำสำหรับหมวกนิรภัยสำหรับนักผจญเพลิงที่ใช้ขณะผจญเพลิงในอาคารและโครงสร้างอื่น ๆ และมีการนำเสนอวิธีการทดสอบ หมวกกันน็อกดังกล่าวส่วนใหญ่จะปกป้องส่วนบนของศีรษะจากผลกระทบจากการซึมผ่านความร้อนและเปลวไฟ มาตรฐานนี้ได้รับการเผยแพร่ในประเทศของเราโดย Turkish Standards Institute (TSE) โดยมีหัวข้อต่อไปนี้: EN 443 ฝาครอบป้องกันสำหรับการดับเพลิงในอาคารและโครงสร้างอื่น ๆ
หมวกกันน็อคป้องกันศีรษะเมื่อใช้งานเท่านั้นดังนั้นเครื่องมือที่จำเป็นในการจับหมวกนิรภัยบนศีรษะของผู้ใช้จึงต้องได้รับการเอาใจใส่มากพอ ๆ กับส่วนป้องกันศีรษะที่เหลือและอยู่ภายใต้การทดสอบหลายชุด การทดสอบเฉพาะขึ้นอยู่กับประเภทของหมวกนิรภัย อย่างไรก็ตามการทดสอบพื้นฐานสองอย่างส่วนใหญ่จะดำเนินการ: ความแข็งแรงของระบบการกักเก็บและประสิทธิภาพของระบบการยึด ความแข็งแรงของระบบยึด (โดยเฉพาะสายรัดคาง) พิจารณาจากการทดสอบแบบคงที่หรือแบบไดนามิกที่ใช้เพื่อขจัดความเป็นไปได้ที่สายพานจะขัดข้อง ประสิทธิภาพของระบบการยึดจะได้รับการทดสอบโดยใช้ของหนักที่ด้านหลังหรือด้านหน้าของหมวกนิรภัยเพื่อถอดออกจากส่วนหัว
แบ่งตามประเภทของการใช้งาน ?
หมวกสำหรับใส่ซ้อมดับเพลิง
เป็นหมวกที่ไว้ป้องกันได้ในระดับหนึ่ง เหมาะกับการสาธิตการดับเพลิง หรือดับเพลิงภายนอกอาคาร สนับสนุนการดับเพลิง หรือการซ้อมดับเพลิง หมวกมีลักษณะเบา มีราคาถูก ไม่มีมาตรฐานสากลรับรองรอง ไม่เหมาะสำหรับการใส่เป็นเวลานาน
ตัวอย่างหมวกดับเพลิง (หมวกภายในประเทศ) หมวกดับเพลิง พร้อมกระบังหน้า ขนาดมาตรฐาน (ภายในประเทศ)
หมวกสำหรับใส่ดับเพลิงภายในอาคาร
เป็นหมวกดับเพลิงคุณภาพสูง เหมาะสำหรับใช้ดับเพลิงในอาคารหรือการดับเพลิงที่มีความเสี่ยงสูง ราคาจะสูงกว่าหมวกแบบซ้อมดับเพลิง คุณภาพดี หนา แบ่งตามมาตรฐานรับรอง รูปร่างและลักษณะแบ่งตามมาตรฐานที่รองรับในแต่ละรูปแบบ เป็นหมวกนำเข้า 100% ไม่มีผลิตในประเทศ
ตัวอย่างหมวกดับเพลิง ในอาคารมาตรฐาน NFPA หมวกดับเพลิง มาตรฐาน NFPA 1500-2000F (สินค้าแนะนำ)
ตัวอย่างหมวกดับเพลิง ในอาคารมาตรฐาน EN หมวกดับเพลิง SICOR รุ่น VFR EVO