การดูแลรักษาชุดดับเพลิงควรดูแล และรักษายังไงให้ใช่งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น ?
หลังจากได้ใช้งานชุดดับเพลิง ก็ควรมีการดูแลรักษาอีกทั้งยังควรมีวิธีการตรวจสอบว่าชุดดับเพิงนั้นพร้อมใช้งานหรือไม่
การตรวจสอบชุดดับเพลิงอย่างละเอียด
ควรตรวจสอบชุดดับเพลิงให้พร้อมใช้งานอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
การตรวจสอบอย่างละเอียด
1. ตรวจสอบความสะอาด สิ่งสกปรก หรือการชำรุดเสียหายที่เกิดจากความร้อน การชำรุดของแถบสะท้อนแสง บริเวณที่มีการสึกหรอเช่น บริเวณหัวเข่าหรือศอก การชำรุดจากการโดนเผาไหม้ และลักษณะที่ผิดปกติของชุดดับเพลิงที่ปกติ
2. เมื่อตรวจสอบแล้วพบปัญหาให้ทำการแก้ไขปัญหาตามที่พบ แล้วนำกลับมาตรวจสอบว่าชุดดับเพลิงพร้อมที่จะใช้งานได้หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน
3. ควรทำประวัติการซ่อมหรือซักชุด ของแต่ละชุดเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการใข้งาน ว่าชุดดับเพลิงจะสามารถ ป้องกันท่านได้อย่าางเต็มที่
การทำความสะอาดชุดดับเพลิง
หมายเหตุ: อายุการใช้งานของชุดดับเพลิงจะสามารถใช้งานได้หากมีการซักอย่างถูกต้องจำนวน 20 ครั้ง (เฉลี่ยน 6-7 ปี เมื่อมีการซักปีละ 3 ครั้ง)
1.การทำความสะอาดเบื้องต้น
1.1 เมือปฎิบัติงานเสร็จเรียบร้อย เจ้าหน้าที่สามารถนำน้ำมาล้างสิ่งสกปรกออกจากชุดดับเพลิงได้ทันที
1.2 หลังจากกลับมาถึงสถานที่ทำการ จำต้องนำชุดดับเพลิงไปแขวนบริเวณที่อากาศถ่ายเท (ลมผ่านสะดวก) ห้ามโดนแสงแดด จนชุดด้านในและด้านนอกแห้ง
1.3 ถ้าใช้เครื่องอบ ควรอบด้วยอุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส
1.4 ควรกลับด้านเพื่อให้ชุดดับเพลิงแห้งไวยิ่งขึ้น
หมายเหตุ: ความชื้ออาจทำให้เกิดเชื้อรา และทำให้ผู้สวมใส่เกิดอาการระคายเคืองได้
2.การซักชุดดับเพลิง (ด้วยการใช้เครื่องซักผ้า)
หมายเหตุ: น้ำที่ใช้ซักชุดดับเพลิงจะต้องระวังในการทิ้ง เพราะอาจมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมได้
2.1 ถอดซับในแยกกับซับนอก และทำการซักทั้งหมด
2.2 จุดที่เปื้อนจะต้องนำน้ำยาซักมาเทบนรอยเปื้อนและใช้แปรงที่นิ่มมาถู เพื่อป้องกันการทำผ้าชั้นนอกเสีย
2.3 ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ ผสมกับน้ำเวลาซัก
2.4 ซิบต้องปิดก่อนทำการซักเสื้อและกางเกง
หมายเหตุ:
1.ใช้น้ำยากซัก (ห้ามใช้ผงซักพอก)
2.ห้ามซักรวมกับเสื้อผ้าทั่วไป
3.ห้ามส่งชุดไปซํกรวมกับร้านซักแห้ง
4.หากพบชุดดับเพลิงมีการชำรุด ให้ทำการส่งซ่อม (จะต้องซักก่อนนำไปซ่อม)