การประกอบสายดับเพลิงกับข้อต่อ (แบบสวมเร็ว)
องค์ประกอบสำคัญในการที่จะใช้ สายดับเพลิง ได้นั้นก็คือ ข้อต่อ ข้อต่อสายดับเพลิงที่ใช้งานในเมืองไทยมักมีหลายรูปแบบ เช่น
- ข้อต่อสายดับเพลิงแบบสวมเร็ว (BS)*ใช้งานมากในเมืองไทย
- ข้อต่อสายดับเพลิงแบบเกลียว (NH)
- ข้อต่อสายดับเพลิงแบบเขี้ยวขบ (Storz)
ในบทความนี้เราจะกล่าวถึง ข้อต่อสายดับเพลิงแบบสวมเร็ว (BS) เพราะข้อต่อสายดับเพลิงแบบนี้ ถูกใช้งานกันอย่างแพร่หลายในเมืองไทย ซึ่งการประกอบข้อต่อสายดับเพลิงแบบนี้ เข้ากับสายส่งน้ำดับเพลิง ไม่ว่าจะเป็นสายผ้าใบ หรือว่าสายยาง ก็ต้องใช้วิธีเดียวกันคือ วิธีการพันด้วยลวด ซึ่งทางบริษัทฯ ได้ใช้เครื่องจักรในการพันสายดับเพลิงเข้ากับข้อต่อ เพื่อให้มีความแน่นหนา ปลอยภัยในการใช้งาน โดยการลักษณะการพันจจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ขึ้นอยู่กับหาง (บริเวณที่อยู่ด้านในสาย)
แบบที่ 1 จะมีลักษณะเป็นหางปลาไหล โดยลักษณะการพันจะใช้วิธีการพันยาวตั้งแต่ต้นจนจบ (ไม่มีภาพประกอบ)
ข้อดี
- พันได้ง่าย
- วิธีการพันไม่ยุ่งยาก
ข้อเสีย
- กรณีลวดขาดจะไม่สามารถใช้งานสายดับเพลิงได้
- ความทนทานจะน้อยกว่า แบบที่ 2
วิธีการพันสายดับเพลิงแบบที่ 1
แบบที่ 2 จะมีลักษณะแบบเรียบ แต่จะมีเขี้ยวขึ้นมา 1 เขี้ยว วิธีการพันจึงต้องใช้ความชำนาญและความสามารถเป็นพิเศษ
ข้อดี
- ทน ใช้งานได้ยาวนาน
- เมื่อลวดเกิดความเสียหาย ก็ยังสามารถใช้งานสายดับเพลิงนั้นได้อยู่
ข้อเสีย
- ต้องใช้เครื่องจักร และผู้ที่มีความสามรถในการประกอบ
วิธีการพันสายดับเพลิงแบบที่ 2
ทางบริษัทฯ พร้อมดูแลและ ให้คำแนะนำกับทางลูกค้าที่สนใจ สามารถติดต่อเข้ามาได้เลยนะคะ https://pacificandfire.com/